วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ


ประวัติความเป็นมา
ชื่อ อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ   Ivan  Petrovich Pavlov
เกิด 14 กันยายน ค.ศ.1849 ( 1849-09-14 ) รีซาน , จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1936 (อายุ 86 ปี) เลนินกราด , สหภาพโซเวียต
ที่พำนัก จักรวรรดิรัสเซีย , สหภาพโซเวียต
เชื้อชาติ รัสเซีย , โซเวียต
สาขาวิชา สรีระวิทยา , จิตวิทยา , แพทย์
สถาบันที่อยู่ สถาบันการแพทย์ทหาร
ผลงาน การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เกียรติประวัติ รางวัลโนเบลสาขาสรีวิทยา หรือการแพทย์ ( ค.ศ.1904 )

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ  (Classical Conditioning Thoery )
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยวางเงื่อนไข แบ่งออกเป็น
          UCS      Unconditioning Stimulus          สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
          UCR     Unconditioning Response         การตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข
          CS        Conditioning Stimulus             สิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข
          CR       Conditioning Response             การตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข

พาฟลอฟ ทดลองกับสุนัขในห้องปฏิบัติการและได้ชื่อว่า การทดลองของพาฟลอฟมักเป็นพฤติกรรมรีเฟลกเป็นพฤติกรรมที่เราไม่สามารถควบคุมได้โดยทดลองให้สุนัขเห็นผงเนื้อ ซึ่งสุนัขจะรู้สึกหิวแล้วน้ำลายไหลผงเนื้อ คือ UCS   สุนัขเห็นผงเนื้อแล้วเกิดน้ำลายไหล คือ UCSเป็นผู้กำหนด ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
          พาฟลอฟจึงลองเอาอย่างอื่นมาทำให้สุนัขน้ำลายไหล โดยให้เสียงกระดิ่งเป็น CS (ซึ่งธรรมดาสุนัขได้ยินก็ไม่ได้ทำให้น้ำลายไหล) โดยวางเงื่อนไขให้ CS มาคู่กับ UCS โดยการสั่นกระดิ่งพร้อมล่อด้วย ผงเนื้อ สุนัขจะน้ำลายไหล ภายหลังแค่สั่นกระดิ่ง  สุนัขก็น้ำลายไหลได้ (ซึ่งเป็น CR) น้ำลายไหล UCR กับ CR ไม่เหมือนกันเพราะตัวแรก (UCR) เกิดจากผงเนื้อแต่ตัวหลัง (CR) เกิดจากกระดิ่ง ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งคือสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ซึ่งเรียกว่า สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข” (Conditioned stimulus) และกิริยาการเกิดน้ำลายไหลของสุนัข เรียกว่าการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข” (Conditioned response) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขหรือที่เรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
การเรียนรู้ที่เรียกว่า classical conditioning นั้นหมายถึงการเรียนรู้ใดๆก็ตามซึ่งมีลักษณะการเกิดตาม ลำดับขั้นดังนี้
1. ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิดและการฝึกหัด
สรุป การทดลองที่จัดว่าเป็น classical ได้ให้ concept ใหญ่ๆ 4 ข้อด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นหลักสำคัญของ S - R Theory คือ
1. กฎการสรุปกฎเกณฑ์ทั่วไป(Law of Generalization) หรือ การแผ่ขยาย ( Generalization)
2. กฎการจำแนกความแตกต่าง(Law of Discrimination)
3. กฎความคล้ายคลึงกัน
4. การจำแนก

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)
               ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
พาฟลอฟ เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบ สนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นๆต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ นอกจากจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการวางเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้ว ยังหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน หรือปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งพาฟลอฟได้อธิบายเรื่องราวการวางเงื่อนไขในแง่ของสิ่งเร้า (Stimulus - S) และการตอบสนอง (Response - R)
การเชื่อมโยงสิ่งเร้าบางอย่างกับการตอบสนองบางอย่างมาตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาขึ้น เรื่อย ๆ เมื่อเติบโตขึ้นตามธรรมชาติ โดยสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า สิ่งเร้าที่ไม่ได้ วางเงื่อนไข(Unconditioned stimulus = UCS) หมายถึง สิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ และเมื่อนำมาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้หรือตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้ และการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response = UCR) ซึ่งหมายถึง การตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ

จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟเป็นแผนผัง ดังนี้
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ในการทดลองของพาฟลอฟนั้น พบว่า
1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
2. ช่วงเวลาในการให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข และไม่วางเงื่อนไข
3.ถ้ามีการวางเงื่อนไขซ้อนกันมากครั้ง

ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบ สนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้า
4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง

กฎแห่งการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มี 4 กฎ
1.กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction) คือ ความเข้มข้นของการตอบสนอง จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าอินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว หรือความ มีสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างออกไปมากขึ้น
2.กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery) คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฏขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่ช่วย
3.กฎแห่งสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
4. กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้ว ถ้าสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจาก สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้วเมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงประทัดหรือเสียงปืนจะไม่มีอาการน้ำลายไหล
                ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในมุมมองของพาฟลอฟ คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดการเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 สิ่งในลักษณะเดียวกัน แล้วไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกไป การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอง

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกดคำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-n-d ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง o - u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม


1 ความคิดเห็น: