ทฤษฏีการเรียนรู้
ที่
|
ทฤษฏี
|
แนวคิด
|
กุญแจสำคัญ
|
ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
|
1.
|
พาฟลอฟ
|
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
|
Type S
สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
|
แยมไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากแยมไม่ชอบคุณครูที่สอนคณิตฯเพราะคุณครูถามคำถามแล้วให้แยมตอบ พอแยมตอบไม่ได้ ครูก็ชอบดุและทำโทษแยม จึงทำให้แยมไม่ชอบวิชานี้และไม่เกิดการเรียนรู้
|
2.
|
วัตสัน
|
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
|
Type S
|
ซีโร่ชอบเล่นน้ำฝนมาก อยู่มาวันหนึ่งในขณะที่ซีโร่กำลังเล่นน้ำฝนอยู่ก็มีเสียงฟ้าร้อง ซีโร่ตกใจและกลัวมาก หลังจากนั้นซีโร่ก็กลัวเสียงฟ้าร้องมาตลอด ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงฟ้าร้องซีโร่ก็จะร้องไห้ไม่หยุด ต่อมาซีโร่ได้นั่งทานข้าวกับแม่และได้ยินเสียงฟ้าร้อง ซีโร่จึงกอดแม่ทันที แม่คอยปลอบ ทำแบบนี้ 2 สัปดาห์ ซีโร่ก็ไม่กลัวเสียงฟ้าร้องอีกเลย
|
3.
|
สกินเนอร์
|
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือทำ
|
การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ส่วนการกระทำที่ไม่เสริมแรงมีแนวโน้มที่การกระทำนั้นๆจะลดลงและค่อยๆหายไป
|
ครูแหม่มให้เด็กๆวาดรูปลงไปในกระดาษ หากใครวาดสวย จะได้ 5 ดาว แต่ห้องครูเจี๊ยบให้เด็กๆวาดรูปเหมือนกัน แต่ไม่มีรางวัลให้ เด็กๆห้องครูเจี๊ยบจึงไม่ค่อยจะขะหมักเขม้นเหมือนห้องครูแหม่ม
|
4.
|
ธอร์นไดค์
|
ทฤษฎีการสัมพันธ์เชื่อมโยง
|
การลองผิดลองถูก
|
คุณครูให้ดีดี้แกะขนมที่อยู่ในปี๊บ ถ้าแกะได้จะได้กินขนม ดีดี้จึงเริ่มแกะฝาปี๊บด้วยมือเปล่า ปรากฏว่าไม่ออก ดีดี้จึงไปหยิบไม้บรรทัดพลาสติกมาเพื่อจะแกะฝา ปรากฏว่าไม้บรรทัดหัก ดีดี้จึงหาอะไรที่แข็งแรงกว่าโดยหยิบช้อนมาแกะฝาปรากฏว่าฝาถูกเปิดออกอย่างง่ายดาย ดีดี้จึงได้กินขนม
|
5.
|
แบนดูรา
|
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมพุทธิปัญญา
|
การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
|
ครูนกให้เด็กๆเต้นเพลง เรามาแปลงฟัน โดยคุณครูจะเต้นให้เด็กๆดู และให้เด็กๆเต้นตาม ในตอนแรกเด็กหญิงเดียเต้นตามครูไม่ได้ เธอยืนมองคุณครูเต้นอยู่2 รอบ และเธอก็เริ่มเต้นตามครูได้ ต่อมาเด็กหญิงเดียเต้นตามคุณครูอีก5 รอบ เธอก็สามารถเต้นตามครูได้จนจบเพลง
|
6.
|
เกสตัลท์
|
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
|
การรับรู้ (perception) และนำไปสู่การหยั่งเห็น (Insight)
|
เอินกำลังเดินกลับบ้านแต่เมื่อเดินถึงสะพานปรากฏว่าสะพานขาด กว้าง 2 เมตร เอินจึงมองหาไม้ที่กว้างพอจะเดินได้มาพาดแล้วเดินข้ามไปได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น